เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพ เคารพความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคมพร้อมทั้งรักษาสิทธิของตนเองและผู้อื่น


week6

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและมองเห็นกลไกระบบการเมืองการปกครอง ทั้งด้านความเหมือนและความต่างของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนร่วมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Week
input
Process
Output
Outcome
6

โจทย์ : การเมือง การปกครอง
- รูปแบบการปกครอง
- ความมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศ
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คำถาม
- นักเรียนคิดว่ารูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันในกลุ่มประชาสยขคมอาเซียนส่งผลอย่างไรต่อการพัฒนาประเทศ
เครื่องมือคิด
Show and share นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลไกระบบการเมืองการ
ปกครอง ทั้งด้านความเหมือนและความต่างของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน
- Round Rubin  ร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในกลุ่มอาเซียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กิจกรรม กงล้อ สี่ทิศ
-  เกม ประเทศจำลอง
-  กิจกรรม ฉันสัมพันธ์กับประเทศคุณอย่างไร
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม กงล้อ สี่ทิศ
เชื่อม  : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม
อังคาร 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม ประเทศจำลอง
  (ครูกำหนดองค์ประกอบ ลักษณะภูมิประเทศ จำนวนประชากร ค่าเงิน ผลผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ)
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม
พุธ 2 ชั่วโมง
เชื่อม  :  นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มและเลือกประเทศในกลุ่มอาเซียน
- นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ การเมือง การปกครองในแต่ละประเทศ ที่จับฉลากได้
- นักเรียนแต่ละคนจัดระบบข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบ Web เชื่อมโยง
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากกิจกรรมประเทศจำลอง หากนักเรียนเป็นผู้นำประเทศ นักเรียนต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศใดในกลุ่มอาเซียน เพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
ใช้ :  นักเรียนแต่ละคนออกแบบ ชาร์ตภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนร่วมกิจกรรม ฉันสัมพันธ์กับประเทศคุณอย่างไร(บอกความสัมพันธ์ของประเทศที่สืบค้นข้อมูลกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่ารูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันในกลุ่มประชาคมอาเซียนส่งผลอย่างไรต่อการพัฒนาประเทศ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน :
- ร่วมกิจกรรมกงล้อ สี่ทิศ
และอภิปรายร่วมกัน
- ร่วมเล่นเกม ประเทศจำลอง
- จับฉลากแบ่งกลุ่มและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ การเมือง การปกครองในแต่ละประเทศ
- จัดระบบข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบ Web เชื่อมโยง
- ออกแบบ ชาร์ตภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
- ร่วมกิจกรรม ฉันสัมพันธ์กับประเทศคุณอย่างไร
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน

ชิ้นงาน :
-  Web เชื่อมโยง ข้อมูลเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง
- ชาร์ตภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและมองเห็นกลไกระบบการเมืองการปกครอง ทั้งด้านความเหมือนและความต่างของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนร่วมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี เพื่อสร้างชิ้นงานที่มีคุณภาพ
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดความเชื่อมโยงของ ระบบการปกครองของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตในปัจจุบันได้
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีข้อด้อยของการปกครองระบอบต่างๆ

 ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการอภิปรายร่วมกันเอถ่ายทอดความเข้าใจในรูปแบบการแสดงได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำ

กิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรม "กงล้อสี่ทิศ"



 กิจกรรม ออกแบบประเทศจำลอง

สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปกครองและอภิปรายร่วมกัน

ตัวอย่างชิ้นงาน
กิจกรรม  กงล้อสี่ทิศ
  
 

ประเทศจำลอง  (ซึ่งกำหนดตำแหน่งที่ตั้งในตำแหน่งจริง บนแผนที่โลก)









 ข้อมูลระบอบการปกครองรูปแบบต่างๆ และตัวอย่างเรียงความ (แสดงทัศนะคติต่อรูปแบบการปกครองต่างๆ)
  

 

 ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

 

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้ประเด็นการกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ที่การปกครองรูปแบต่างๆ ค่ะ โดยเน้นชี้ให้พี่ได้เห็นและวิเคราะห์เป็นเกี่ยวกับข้อเด่นและข้อด้อยของแต่ละรูปแบบ โดคุณครูเริ่มต้นด้วยกิจกรรม “กงล้อสี่ทิศ ” โดยเป้าหมายเดียวคือ ให้พี่ๆได้มีโอกาสใคร่ครวญและวิเคราะห์สิ่งที่ตัวเองเป็นและเลือกสิ่งต่างๆที่คิดว่าใช้ ซึ่งกิจกรรมนี้คุณครูได้เปิดลักษณะนิสัย ข้อดี ข้อด้อยของสัตว์สี่ประเภทซึ่งเป็นตัวแทนทิศทั้งสี่ทิศได้แก่ กระทิง หมี เหยี่ยว และหนู จากนั้นก็แบ่งกลุ่มตาม ชนิดของสัตว์ที่ตนเองคิดว่าเป็นตัวเรา จากนั้นก็แจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มเขียน ข้อดี ข้อด้อยของตนเอง (ข้อเท็จจริงจากการสำรวจตนเอง) แล้วเราก็นำมาอภิปรายร่วมกัน ในช่วงแรกทุกคนยังคงมีความเป็นตัวตนคิดว่า ตนเองมีลักษณะตามสัตว์ที่เลือก แต่หลังจากร่วมแชร์ และคุณครูใช้คำถาม ถามกลับว่า “พี่ๆคิดว่าตนเองมีลักษณะเป็นเช่นสิที่ตนเองเลือกตลอกเวลาหรือไม่?” ทุกคน ตอบว่า ไม่ ครูก็ถามต่อไปอีกว่า “แล้วเราเป็นหนูตอนไหน?” “เราเป็นหมีตอนไหน?” “เราเป็นเหยี่ยวตอนไหน?” และ“เราเป็นกระทิงตอนไหน?” ทุกๆคนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้เหตุผลได้ดี เช่นออโต้ “ผมจะเป็นหนูตอนอยู่กับแม่ครับ เพราะว่าจะ ไม่ค่อยพูดแต่รู้สึกทำอะไรแล้วมีความสุข” พี่คิม “ผมเป็นหมีตอนทำงานครับ เพราะว่าจะหาข้อมูลเยอะๆก่อนแล้วค่อยเอามาสร้างงาน” ปิดท้ายกิจกรรมนี้ พี่ๆแต่ละคนได้เขียนเรียงความหัวข้อ “ฉันเป็นใคร”เพื่อทบทวนสิ่งต่างๆในตัวตนของตนเองก่อนการเลือกและตัดสินใจ
    และในวันต่อมา พี่ๆได้ลงมือร่วมกิจกรรมออกแบบ ประเทศจำลองโดย การจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่มและวาดรูปแบบประเทศของกลุ่ม ร่วมถึงข้อมูลสำคัญต่างๆของประเทศตนเอง เช่น หน่วยเงิน ธงชาติ ดอกไม้ประจำประเทศ ภาษา ศาสนา และการปกครอง (เว้นไว้เพื่อทำกิจกรรมต่อ) ฯลฯ โดยกำหนดให้ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศในแต่ละกลุ่มนั้น จะต้องล้อมรอบด้วยประเทศอื่นๆในโลกที่มีอยู่จริง เพื่อตอบโจทย์ การสร้างสัมพันธไมตรีระหว่ากัน และการส่งออกสินค้าต่างๆ ซึ่งกิจกรรมนี้ ทุกกลุ่มต้องได้ศึกษาข้อมูลจริงจากแผนที่ละทรัพยากรต่างๆของปะเทศอื่นที่ประเทศจำลองของตนเองตั้งอยู่ แต่ละกลุ่มได้นำเสนอประเทศของตนเองคราวๆ แต่ยังคง เว้นว่างรูปแบบการปกครองไว้ เนื่องจากคุณครูจะพาพี่ๆร่วมทำกิจกรรม “รูปแบบการปกครอง” ในวันต่อไป
    ในวันนี้ คุณครูได้ ทิ้งคำถาม ไว้ให้กับพี่ๆ ว่า “พี่ๆอยากจะให้รูปแบบการปกครองในประเทศจำลองของตนเองเป็นอย่างไร?” จากนั้นแต่ละกลุ่มก็สืบค้นข้อมูลรูปแบบปการปกครองต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย เผด็จการ ฟาสซิสต์ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว คุณครูใช้วิธีการสร้างความเข้าใจเรื่อการปกครองโดยตั้งคำถามให้พี่ๆร่วมแชร์ เช่น รูปแบบการปกครองแบบ ฟาสซิสต์ เป็นอย่างไร ? แต่ละแบบมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร? แต่ละคนช่วยกันตอบ สนุกสนานมากค่ะ เมื่อได้ความเข้าใจและเห็นในประเด็นต่างๆแล้ว คุณครูก็ย้อนกลับมาถามพี่ๆอีกครั้งว่า “อยากจะให้รูปแบบการปกครองในประเทศจำลองของตนเองเป็นอย่างไร?” ดังคำถามนี้ แต่ละคนก็ได้ร่วมเลือกและแชร์ ความคิดเห็น พร้อมทั้งเขียนลงไปในชิ้นงาน “ประเทศจำลองของตนเอง”
    ปิดท้ายกิจกรรมด้วย การบ้าน 2 ข้อ จากคำถามที่ 1 ที่ว่า การปกครองมีกี่ปะเภท แต่ละประเทศมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร และข้อที่ 2 คือ นักเรียนอยากจะได้การปกครองรูปแบบใด เพราะเหตุใด โดยให้แต่ละคนได้ร่วมแสดงทัศนะคติในรูปแบบ บทความ ด้านการสรุปสัปดาห์นั้นคุณครูได้ลองให้พี่ๆเปลี่ยนจากการเขียนบรรยายมาเป็นการตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตนเองได้เรียนรู้

    ตอบลบ