เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้
ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
|
1
|
โจทย์
: ออกแบบการเรียนรู้
-
เรื่องที่อยากเรียนรู้
-
วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
-
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
-
นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
-
นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด
- ชักเย่อความคิด (เปิดอาเซียนแล้วประเทศจะพัฒนาจริงหรือ?)
- Think
pair share เลือกชื่อหน่วย
- Black
board share ตั้งชื่อหน่วย
- Mind
Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Think
pair share และ Show
and Share ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิปท่องโลกอาเซียน แผนที่ 1
- คลิปวีดีโอ “รวยจน ชีวิตคนอาเซียน
|
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง
: ครูเปิดดูคลิปท่องโลกอาเซียน แผนที่ 1 ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากสิ่งที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมตอบคำถามและวิเคราะห์สิ่งที่ได้ดู
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเปิดอาเซียนแล้วประเทศจะพัฒนาจริงหรือ?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยใช้การชักเย่อความคิด
อังคาร 2 ชั่วโมง
ชง
: ครูเปิดคลิปวีดีโอ “รวยจน
ชีวิตคนอาเซียน” ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากสิ่งที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมตอบคำถามและวิเคราะห์สิ่งที่ได้ดู
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้น่าสนใจได้อย่างไร?”
เชื่อม
:
นักเรียนเลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้ (เครื่องมือคิด Black
board share)
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร?”
เชื่อม
:
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิด
Think pair share และ Show and Share
พฤหัสบดี 2 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับ
อาเซียน ด้านใดบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปสิ่งที่รู้และสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษ
A4
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูจับฉลากแบ่งกลุ่ม
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูล อาทิเช่น ปฏิทินการเรียนรู้ สิ่งที่รู้แล้ว/
สิ่งที่อยากเรียนรู้ หัวข้อหน่วย ฯลฯ เขียนลงในกระดาษ
ชาร์ต (Wall Thinking)
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
:
- วิเคราะห์สิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
- ชักเย่อความคิด
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ(เปิดอาเซียนแล้วประเทศจะพัฒนาจริงหรือ?)
- ร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
-
สรุป Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
ชิ้นงาน
:
-
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Mind
Mapping (ก่อนเรียน)
-
ปฏิทินการเรียนรู้ Quarter 3
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้
ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต - ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินการเรียนรู้ได้ - ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ - ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง
- นำเสนอชื่อหน่วย และปฏิทินการเรียนรู้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลอง ทักษะการอยู่ร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น - กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ - ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย |
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
สร้างแรงบันดาลใจ /ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้






ร่วมออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้








บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ใน Quarter 4 ซึ่ง หน่วยการเรียนรู้ใน Quarter นี้ของเราเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมอาเซียน ซึ่งกระบวนการสร้างแรง คุณครูได้นำคลิปวีดีโอท่องโลกอาเซียน และ รวยจน ชีวิตคนอาเซียน มาเปิดให้พี่ๆ ดี พร้องทั้งได้วิเคราะห์สิ่งที่ได้ดูร่วมกัน จากนั้นแต่ละคนได้ร่วมกันชักเย่อความคิดจากคำถามของคุณครูที่ว่า “การเปิดอาเซียนจะทำให้แต่ละประเทศพัฒนาจริงหรือ” จากคำถามนี้รูปแบบการตอบคำถาม ทั้งที่ตอบว่าจริง ไม่จริง และกึ่งกึ่งกลางคือ ไม่แน่ใจ เหตุผลของพี่ๆที่ตอบว่าพัฒนาจริงนั้น ส่วนใหญ่คิดว่า ประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียนจะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศของตนเอง แต่ในส่วนของที่ให้เหตุผลว่าจะไม่พัฒนานั้น เนื่องจากว่าตนเองได้ติดตามข่าวแล้วทราบมาว่า ราคายางพารา สินค้าทางการเกษตรต่างๆปรับตัวลดลง จนเกิดปัญหาต่างๆ
จากนั้นในกระบวนการต่อมาพี่ๆป.5 ก็เข้าสู่การตั้งชื่อหน่วย โดยคุณครูให้กลับไปคิดเป็นการบ้านแล้วนำมาแชร์วันรุ่งขึ้น ชื่อหน่วยที่ได้รับการเสนอและยอมรับคือ “อาเซียน ASEAN” จากนั้นก็เป็นกระบวนการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ร่วมกันค่ะ ใช้เครื่องมือคิด Think Pair Share เมื่อได้ปฏิทินแล้ว ก็เข้าสู่การเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ซึ่งก็ใช้วิธีการเดียวกัน ในส่วนของ Mind Mapping ก่อนเรียน คุณครูให้นำไปทำเป็นการบ้าน เพื่อจะได้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการแสดงความคิดเห็นและสร้างชิ้นงานร่วมกัน หลังจากได้ข้อมูลครบแล้ว ในวันศุกร์ คุณครูจึงขออาสาพี่ๆแต่ละคน นำข้อมูลที่ได้ต่างๆ อาทิเช่น ปฏิทินการเรียนรู้ สิ่งที่รู้แล้ว/ สิ่งที่อยากเรียนรู้ หัวข้อหน่วย ฯลฯ เขียนลงในกระดาษ ชาร์ต (Wall Thinking) และปิดท้ายด้วยการตกแต่งห้องร่วมกันพร้อมทั้งสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์