เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์: นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกฎหมายร่วมใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
ทั้งกฎบัตรหรือรัฐธรรมนูญอาเซียน วัตถุประสงค์ โครงสร้าง สาระสำคัญ หลักการ
และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากกฎบัตรอาเซียน
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
||||
29
ก.พ. 59
-
4 มี.ค.59
|
โจทย์
: กฎหมายร่วมใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
คำถาม
- นักเรียนคิดว่ากฎเกณฑ์
ที่จะนำมาจัดระบบหรือคุ้มครองสิทธิของประชาคมอาเซียนควรเป็นอย่างไร
-
นักเรียนจะทำอย่างไรให้ประชาชนแต่ละพื้นที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
เครื่องมือคิด
- Show
and share ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมและเหตุผลในการจัดตั้งกฎบัญญัติเพื่อนำมาปรับใช้ในกลุ่มอาเซียน
- Round
Rubin ร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้กับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
Mind
Mapping สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง: ครูให้นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม
เชื่อม:
ครูให้โจทย์นักเรียน ประกอบด้วย
1. หมู่บ้าน
2. โรงเรียน
3. ห้องเรียน
4. ประเทศ
5. จังหวัด
6. ครอบครัว
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนจะทำอย่างไรให้ประชาชนแต่ละพื้นที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
ใช้: นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมออกแบบแผนงานในกระดาษ A3 และนำเสนอผลงาน
-
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
อังคาร 2 ชั่วโมง
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
“นักเรียนคิดว่ากฎที่นำมาใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนมีอะไรบ้าง?”
เชื่อม:
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน
ใช้: แบ่งกลุ่มนักเรียนให้ออกแบบกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ลงในกระดาษ A4 และนำเสนอผลงาน
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนนำเสนอผลงานอาเซียนในอนาคตที่ให้เป็นการบ้านเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-
แต่ละกลุ่มออกแบบผลงานตามโจทย์ที่ได้รับโดยทำในกระดาษ A3
-
ตอบคำถามและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกฎที่นำมาใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
-
ออกแบบกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ลงในกระดาษ A4
-
นำเสนอผลงาน
-
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน
-
จัดระบบข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบการ์ตูนช่อง
-
นักเรียนทำใบงาน
ชิ้นงาน
- A4
ออกแบบกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
-
การ์ตูนช่อง
-
ใบงาน
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกฎหมายร่วมใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน
ทั้งกฎบัตรหรือรัฐธรรมนูญอาเซียน วัตถุประสงค์ โครงสร้าง สาระสำคัญ หลักการ
และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากกฎบัตรอาเซียน
ทักษะ
ทักษะชีวิต - สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลได้ - สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น กระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับกฎหมายร่วมใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
- พี่ๆร่วมเล่นเกมส์ โป๊ะแตก สถาบันสังคม



- ร่วมออกแบบ กฏกติกาต่างจากโจทย์ : เราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันดีได้อย่างไร
โดยจับฉลากแบ่งกลุ่ม ประกอบด้วย ครอบครัว หมู่บ้าน จังหวัด ห้องเรียน โรงเรียน ประเทศ



- นำเสนอ ร่วมกัน ก่อนจะเชื่อมโยงเข้าสู่ กฏหมายต่างๆที่การบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครอง ต่างๆ



ตัวอย่างชิ้นงาน
ไอเดียของแต่ละกลุ่มที่ตอบโจทย์ (อยู่อย่างไรให้สันติ)






ตัวอย่างเขียนเรียงความแสดงทัศนะคติ


ออกแบบอาเซียนในอนาคต
บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสำหรับวิชา บูรณาการในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ที่ใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยโจทย์ ประจำสัปดาห์นี้ก็คือพี่ๆคิดว่าในแต่ละพื้นที่เราจะสามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติได้อย่างไร? กิจกรรมแรกคือคุณครูได้ให้พี่ๆจับฉลากแบ่งกลุ่มและจับฉลากเลือกหัวข้อสถาบันสังคมซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ประเทศ หมู่บ้าน ครอบครัว ห้องเรียน โรงเรียน จากนั้นก็เป็นกิจกรรมร่วมกันเล่น เล่นเกมส์โป๊ะแตกสถาบันสังคม เมื่อแต่ละคนได้ร่วมเล่นแล้ว แต่ละคนก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่ได้จับฉลากและหาข้อมูลสืบค้นข้อมูลและวางแผนว่าตนเองจะจัดการอย่างไรหรือกลุ่มของตนเองจะวางแผนอย่างไรให้ชุมชนหรือว่าสิ่งที่ตัวเองจับฉลากได้ไปนั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีแต่ละกลุ่มก็สามารถทำชิ้นงานและออกไอเดียของกลุ่มได้สำเร็จนะคะเราก็ได้มาร่วมกันนำเสนอ แต่ละกลุ่มพูดถึงกฎข้อบังคับต่างๆที่ร่วมกันสร้างขึ้น ภายใต้เหตุผลต่างๆ ซึ่งเราได้มาอภิปรายร่วมกันว่าทำไมแต่ละกลุ่ม จึงมีไอเดียที่เกี่ยวกับการออกกฎหรือว่าเค้าบัญญัติต่างๆค่ะ จากการพูดคุยสามารถสรุปสั้นๆได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เล็กหรือว่าพื้นที่ใหญ่ระดับประเทศหรือระดับโลกทุกๆพื้นที่ก็จำเป็นที่จะต้องมีการตั้งกฎกติกาขึ้นมาเพื่อบอกว่าจะทำให้สังคมหรือชุมชนนั้นนั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ